วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

นิทาน โต้งผู้ซื่อสัตย์

                                     

“ ความซื่อสัตย์ ( Integrity ) ” ในการทำงาน .... สำคัญไฉน
          ก่อนอื่นต้องถามตัวคุณเองก่อนว่า คุณมีความซื่อสัตย์ ( Integrity) ในการทำงานมากน้อยแค่ไหน และแน่นอนว่าคงจะไม่มีใครตอบว่าตนเองไม่มีความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและเป็นที่ต้องการในทุกองค์การ ซึ่งความซื่อสัตย์นอกจากจะหมายถึงการ รักษาความลับ ผลประโยชน์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ของบริษัทแล้ว ความซื่อสัตย์ยังหมายรวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนจากความเป็นจริง และการปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎของบริษัท และยังพบว่าอีกว่ามีหลายองค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) หรือคุณค่าร่วม ( Core Value) ที่เกี่ยวข้องกับความคิดความเชื่อที่อยากให้พนักงานทุกคนปฏิบัติ
          แล้วทำไมคุณจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ..... ความซื่อสัตย์ในการทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) ของตัวคุณเองที่คนอื่นมองหรือรับรู้ในตัวคุณว่าเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานและองค์การของคุณเอง ทั้งนี้คุณลักษณะของความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญและส่งผลต่อตัวคุณและต่อหน่วยงานหรือองค์การของคุณ ขอสรุปได้ดังต่อไปนี้
          1. การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน
          2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
          3. สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน     ( Performance) และมูลค่าเพิ่ม ( Added Value) ของตัวคุณเอง
          4. รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง
          มาถึงคำถามที่ว่า หากจะวัดหรือประเมินความซื่อสัตย์ได้อย่างไร เช่น หากถามว่านาย ก มีความซื่อสัตย์มากกว่านาย ข นั้น เราจะพิจารณาหรือประเมินได้จากอะไรได้บ้าง และเพื่อทำให้องค์การสามารถประเมินหรือวัดความซื่อสัตย์ได้ จึงทำให้องค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถอย่างหนึ่ง ( Competency) ซึ่งสามารถกำหนดได้เป็นความสามารถหลัก ( Core Competency) ที่เป็นความสามารถหรือพฤติกรรมที่ใช้วัดหรือประเมินพนักงานสำหรับทุกคนและทุกตำแหน่งงาน นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป็นความสามารถในงาน ( Job Competency) ได้อีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมของความซื่อสัตย์นั้นสามารถกำหนดเป็นพฤติกรรมออกมาแยกเป็นระดับต่าง ๆ เพื่อใช้ประเมินผลและพัฒนาพนักงานได้ โดยขอยกตัวอย่างของการแบ่งพฤติกรรมความซื่อสัตย์ออกเป็น 5 ระดับ ดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติผู้แต่ง



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ เช่น ด้านดนตรีไทย ทรงพระปรีชาสามารถในการขับร้องเพลงและทรงบรรเลงดนตรีไทยได้หลายประเภท ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปลงานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร ผีเสื้อแก้วจอมแก่น แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น ทั้งนี้ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการใน พระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการโดยมุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดารและพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลอย่างสมบูรณ์


ความเป็นมา


บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 41 หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 11 หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์, เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ, เรียงร้อยถ้อยดนตรี, ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัช, สมบัติภูมิปัญญา, ธาราความคิด, นิทิศบรรณา,สาราจากใจ และ มาลัยปกิณกะ ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม 4 เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทย, การใช้สสรพนาม, วิจารย์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลีและ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี



ลักษณะคำประพันธ์


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น บทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อนอย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรนำเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการส้างสรรค์ ไม่ใช่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญหาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติและการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม




จุดมุ่งหมาย

1. เขียนรายงานทางวิชาการได้ถูกต้อง

2. ศึกษาหาความรู้และสามารถนำมาถ่ายทอดได้

3. พูดรายงานได้ตามวัตถุประสงค์




เรื่องย่อ


เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งภูมิอากาศเอื้อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาเท่าที่ควร และส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้ จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่กวีทั้งสองท่านกลับมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน คือ มุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่ต่างกัน



คำศัพท์


กำซาบ
ซึมเข้าไป
เขียวคาว
สีเขียวของข้าว ซึ่งน่าจะหอมสดชื่น แต่ในบทกวีกลับมีกลิ่นเหม็นคาว เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความขมขื่นของชาวนา
ธัญพืช
มาจากภาษาบาลีว่า ธญฺญพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก
ประกันราคา
การที่รัฐ เอกชน หรือองค์กรต่างๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่ได้กำหนดไว้ในอนาคต ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ
หรือ เปิบข้าว หมายถึง วิธีการใช้ปลายนิ้วทั้งห้าหยิบข้าวใส่ปากตนเอง
ภาคบริการ
อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น เช่น พนักงานในร้านอาหาร ช่างเสริมสวย
ลำเลิก
กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้สำนึกถึงบุญคุณ
สวัสดิการ
การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล มีที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง
สู
สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำโบราณ
อาจิณ
ประจำ


บทวิเคราะห์


1) คุณค่าด้านภาษา กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความทีสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนววความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่ายและมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ - ส่วนนำ กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ - เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และของหลี่เชินโดยทรงยกเหตุผลต่างๆและทรงแสดงทัศนะประกอบ เช่น


“…ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆนั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก กับใครๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆ จะเอาอะไรกิน...



- ส่วนสรุป สรุปความเพียงสั้นๆแต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหหาเช่นนี้ ดังความที่ว่า


“…ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป…”


สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรยบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน ว่า


เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังได้ด้วยตนเอง


บททวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน คือ แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร ซี่งหลี่เชินได้บรรยายภาพทั่เห็นเหมือน จิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยาย เรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม แนวคิดของกวีทั้งสองคนก็คล้ายคลึงกัน คือต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแงและทุกสมัย ประสบความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน



ข้อคิดที่ได้รับ


1.ได้รู้ความสำคัญเกี่ยวกับอาชีพของชาวนาว่าเป็นยังไง

2. ได้รู้ว่าชาวนาต้องลำบากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้ตามความต้องการ

3. ได้รู้ว่า ทั้ง หลี่เจินและจิตร ภูมิศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับชาวนา




ความรู้เพิ่มเติม


จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่ง ของไทยที่มีผลงานทางวิชาการ ที่แปลใหม่และลึกซึ้ง รวมทั้งยังมีแนวคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำอาจกดขี่ของคนชั้นสูง นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรเป็นอย่างมาก วานนิพนธ์ที่โดเด่น ได้แก่ ภาษาและนิรุกติศาสตร์,โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา,ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม,ที่มาของคำสยาม ไทย สาว และขอม,ลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ,โฉมหน้าศักดินาไทย และบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งผลงานสามเรื่องหลังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งร้อยหนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน
ประวัติผู้แต่ง



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ เช่น ด้านดนตรีไทย ทรงพระปรีชาสามารถในการขับร้องเพลงและทรงบรรเลงดนตรีไทยได้หลายประเภท ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปลงานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร ผีเสื้อแก้วจอมแก่น แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น ทั้งนี้ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการใน พระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการโดยมุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดารและพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลอย่างสมบูรณ์


ความเป็นมา


บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 41 หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 11 หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์, เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ, เรียงร้อยถ้อยดนตรี, ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัช, สมบัติภูมิปัญญา, ธาราความคิด, นิทิศบรรณา,สาราจากใจ และ มาลัยปกิณกะ ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม 4 เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทย, การใช้สสรพนาม, วิจารย์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลีและ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี



ลักษณะคำประพันธ์


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น บทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อนอย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรนำเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการส้างสรรค์ ไม่ใช่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญหาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติและการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม




จุดมุ่งหมาย

1. เขียนรายงานทางวิชาการได้ถูกต้อง

2. ศึกษาหาความรู้และสามารถนำมาถ่ายทอดได้

3. พูดรายงานได้ตามวัตถุประสงค์




เรื่องย่อ


เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งภูมิอากาศเอื้อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาเท่าที่ควร และส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้ จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่กวีทั้งสองท่านกลับมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน คือ มุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่ต่างกัน



คำศัพท์


กำซาบ
ซึมเข้าไป
เขียวคาว
สีเขียวของข้าว ซึ่งน่าจะหอมสดชื่น แต่ในบทกวีกลับมีกลิ่นเหม็นคาว เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความขมขื่นของชาวนา
ธัญพืช
มาจากภาษาบาลีว่า ธญฺญพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก
ประกันราคา
การที่รัฐ เอกชน หรือองค์กรต่างๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่ได้กำหนดไว้ในอนาคต ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ
หรือ เปิบข้าว หมายถึง วิธีการใช้ปลายนิ้วทั้งห้าหยิบข้าวใส่ปากตนเอง
ภาคบริการ
อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น เช่น พนักงานในร้านอาหาร ช่างเสริมสวย
ลำเลิก
กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้สำนึกถึงบุญคุณ
สวัสดิการ
การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล มีที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง
สู
สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำโบราณ
อาจิณ
ประจำ


บทวิเคราะห์


1) คุณค่าด้านภาษา กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความทีสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนววความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่ายและมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ - ส่วนนำ กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ - เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และของหลี่เชินโดยทรงยกเหตุผลต่างๆและทรงแสดงทัศนะประกอบ เช่น


“…ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆนั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก กับใครๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆ จะเอาอะไรกิน...



- ส่วนสรุป สรุปความเพียงสั้นๆแต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหหาเช่นนี้ ดังความที่ว่า


“…ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป…”


สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรยบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน ว่า


เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังได้ด้วยตนเอง


บททวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน คือ แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร ซี่งหลี่เชินได้บรรยายภาพทั่เห็นเหมือน จิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยาย เรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม แนวคิดของกวีทั้งสองคนก็คล้ายคลึงกัน คือต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแงและทุกสมัย ประสบความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน



ข้อคิดที่ได้รับ


1.ได้รู้ความสำคัญเกี่ยวกับอาชีพของชาวนาว่าเป็นยังไง

2. ได้รู้ว่าชาวนาต้องลำบากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้ตามความต้องการ

3. ได้รู้ว่า ทั้ง หลี่เจินและจิตร ภูมิศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับชาวนา




ความรู้เพิ่มเติม


จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่ง ของไทยที่มีผลงานทางวิชาการ ที่แปลใหม่และลึกซึ้ง รวมทั้งยังมีแนวคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำอาจกดขี่ของคนชั้นสูง นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรเป็นอย่างมาก วานนิพนธ์ที่โดเด่น ได้แก่ ภาษาและนิรุกติศาสตร์,โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา,ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม,ที่มาของคำสยาม ไทย สาว และขอม,ลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ,โฉมหน้าศักดินาไทย และบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งผลงานสามเรื่องหลังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งร้อยหนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน